
วันนี้คุณบริจาคเลือดแล้วหรือยัง? ข้อมูลนี้น่าจะชัดเจนขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจ "ธนาคารเลือดจะต้องจัดหาเลือดให้ได้ปีละ 1.6 ล้านยูนิตขึ้นไปจึงจะเพียงพอต่อการใช้งาน แต่ปัจจุบันยังคงจัดหาได้เพียง1.4-1.5 ล้านยูนิตเท่านั้น... จึงยังไม่เพียงพอ" และแม้ครั้งไหน ต่อเหตุการณ์ใด เกิดขึ้นกับใครก็ตาม ที่จำเป็นเหลือเกินต้องใช้เลือดของผู้อื่นในภาวะวิกฤต ก็หวังให้เขาผู้นั้นหรือคนกลุ่มนั้น จงได้ใช้เลือดแห่งน้ำใจบริสุทธิ์ในการยืดชีวิตให้สามารถผ่านพ้นนาทีแห่งความทุกข์ทนนั้นไปได้ "เลือด" มหัศจรรย์ธรรมชาติ เมื่อธรรมชาติสร้างชีวิตให้มีความมหัศจรรย์และหลากหลาย สายธารที่หล่อเลี้ยงชีวิตอย่าง "เลือด" ก็ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญในการดำรงชีวิตอยู่ของคนเราด้วยเหมือนกัน นอกจากข่าวจำนวนอุบัติเหตุ และยอดผู้เสียชีวิตในช่วงหน้าเทศกาล สิ่งที่มักเป็น "เครื่องเคียง" ในรายงานสำหรับหมวดนี้ก็คือ "การขาดแคลนเลือด" จนบางครั้งกลายเป็นคำถามถึงความต้องการเลือดที่หมุนเวียนอยู่ในจำนวนประชากรกว่า 70ล้านคนของประเทศไทยวันนี้... มีอยู่มากน้อยแค่ไหนกันแน่? พอๆ กับความสงสัยแง่มุมต่างๆ เกี่ยวกับเลือด ว่าทำไมต้องมีการรับบริจาคเลือดกันอยู่โดยตลอด หรือแม้กระทั่งระบบการหมุนเวียนของเลือดเพื่อช่วยเหลือผู้คนตามโรงพยาบาลต่างๆ เป็นอย่างไร ทำไมเรายังคงได้ยินข่าวการขอรับบริจาคเลือดเพราะขาดแคลนแว่วมาให้ได้ยินอยู่เสมอ ถอดรหัสธารชีวิต อันที่จริงนั้นในร่างกายของเรามีเลือดอยู่ประมาณ 3.8-4.9 ลิตร หรือคิดเป็น 7 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว หน้าที่สำคัญของเลือด คือ ขนส่งก๊ซออกชิเจนจากปอดไปยังเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย และขนส่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเซลล์เนื้อเยื่อมายังปอด เพื่อขับถ่ายออกจากร่างกายต่อไปนอกจากนี้เลือดยังทำหน้าที่ขนส่งสารต่างๆ เช่น กรดอะมิโนฮอร์โมน วิตามินไปยังเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย และนำของเสียต่างๆ จากเซลล์ไปขับออกจากร่างกาย เช่น นำยูเรียไปขับออกที่ไต เป็นต้น เลือดประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นของเหลว เรียกว่า พลาสมา (Plasma) เป็นส่วนน้ำของเลือดที่ไม่แข็งตัว หมายถึงเลือดที่ไม่มีสารที่เป็นมวลสาร คือเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด พลาสมามีความสำคัญเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือดโดยตรง ซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยละ 55 ของปริมาณเลือดทั้งหมดส่วนที่เป็นของแข็งซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือด (Cellular components) มีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่เม็ดเลือดแดง มีหน้าที่หลักในการนำออกซิเจน และอาหารที่ย่อยแล้ว ส่งไปยังเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย และรับของเสียรวมทั้งคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจากเซลล์ มีอยู่ประมาณร้อยละ 40-50 ของปริมาณเลือดทั้งหมดในร่างกาย เม็ดเลือดขาว มีหน้าที่ป้องกันร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมมีส่วนสำคัญในระบภูมิคุ้มกันของร่างกายเกล็ดเลือด มีความจำเป็นต่อการแข็งตัวของเลือดในเวลาที่มีบาดแผล กำเนิดมาจากไซโตพสาสม์ของเมกาคาริโอไซต์ ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่ในไขกระดูก มีหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการห้ามเลือดโดยตรง จะรวมตัวเป็นกระจุกแล้วอุดตรงบริเวณที่มีหลอดเลือดฉีกขาด นอกจากนี้แล้วยังมีบทบาทสำคัญในกลไกการแข็งตัวของเลือด อีกทั้งเกล็ดเลือดสามารถจับมวลสารขนาดเล็ก เช่น ไวรัส ได้ด้วย ดังนั้น เกล็ดเลือดจึงมีความสำคัญในการต่อต้านเชื้อโรคด้วย เกล็ดเลือดมีอยู่ประมาณร้อยละ 45 ของปริมาณเลือดทั้งหมด ทดลองเล่นสล็อตฟรี
หมู่โลหิตของคนเราแบ่งออกเป็น 4 กรุ๊ปตามระบบ เอบีโอ(ABO system) ได้แก่ กรุ๊ป A, กรุ๊ป B, กรุ๊ป AB และกรุ๊ป 0การถ่ายเลือดจะทำได้ก็ต่อเมื่อแอนติเจน และแอนติบอดีของเลือดตรงกันหรือเข้ากันได้กรุ๊ปเลือดเหล่านี้ถูกกำหนดโดยพันธุกรรม ลูกจะมีเลือดอยู่ในกลุ่มที่ตรงกับพ่อหรือแม่ อย่างน้อยคนใดคนหนึ่ง การตรวจเลือดจึงมักเป็นหลักฐานชิ้นหนึ่งในการพิสูจน์หาพ่อแม่ที่แท้จริง Dr.Peter J.D'Adamo นายแพทย์ด้านธรรมชาติบำบัดชาวอเมริกัน ผู้เขียนหนังสือ "Eat Right For Your Type"อธิบายว่า เพราะเม็ดเลือดทั้ง 4 กรุ๊ปของคนเรามีรายละเอียดที่แตกต่างกัน อาหารของคนแต่ละกรุ๊ปเลือดจึงแตกต่างกันด้วย เขาเขียนถึงความสอดคล้องของกรุ๊ปเลือดที่เดินทางมาพร้อมกับมนุษยชาติว่า เลือดกรุ๊ป 0 ถือเป็นเลือดที่เก่าแก่ที่สุด โดยมาจากมนุษย์กลุ่มแรกของโลก ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์และกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร ก่อนที่จะมีการพัฒนาเข้าสู่วิวัฒนาการด้านการเพาะปลูก กลายเป็นคนที่มีเลือดกรุ๊ปA ซึ่งหลังจากมนุษย์ได้ตั้งถิ่นฐานและเพาะปลูกแล้ว ก็เริ่มเลี้ยงสัตว์เอง กินเนื้อและนมของสัตว์ที่เลี้ยงไว้ ร่างกายได้มีวิวัฒนาการมากขึ้น จนเกิดเป็นกลุ่มเลือดกรุ๊ป B หลังจากนั้นเมื่อวิวัฒนาการชับซ้อนมากขึ้นก็ได้เกิดคนกรุ๊ป AB (ค้นพบเมื่อประมาณ 1,000-1,500 ปีก่อน) นอกจากระบบเอบีโอแล้ว หมู่โลหิตยังสามารถจำแนกตามระบบ Rh (Rh system) ได้อีกด้วย โดยแบ่งออกเป็น 2ประเภท คือ Rh+ (Rh Positive) หมายถึง มีแอนติเจนดีในเม็ดเลือดแดง พบในกลุ่มคนไทยทั่วไป และ Rh- (Rh Negative) หมายถึง ไม่มีการพบแอนติเจนดีเลย พบมากในชาวต่างชาติแถบยุโรป แต่มีอัตราพบน้อยมากในประชากรประเทศไทยคือ 1,000 คนจะพบแค่เพียง 3 คนเท่านั้น จึงมักเรียกว่า "หมู่โลหิตหายาก" หรือ "หมู่โลหิตพิเศษ" นั่นเอง ทำไม "เลือด" จึงยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ? ตามหลักการแพทย์หากเราเสียเลือดไม่เกิน 1,000 ซีซี ในระยะแรกร่างกายยังคงทนได้ แต่ต้องได้รับสารน้ำมาทดแทน เพื่อรักษาระดับน้ำในเส้นเลือด แต่ถ้าร่างกายเสียเลือดมากกว่านี้ หรือประมาณ 1 ใน 3 ของเลือดทั้งหมด อาจทำให้ตายได้ เช่น เกิดอุบัติเหตุจนทำให้เส้นเลือดใหญ่ขาด เป็นต้น ดังนั้นถ้าร่างกายสูญเสียเลือดมากเกินไปต้องได้รับการให้เลือดทดแทนโดยทันที เพื่อช่วยรักษาระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงให้สูงพอที่จะพาออกชิเจนไปทั่วร่างกาย ธนาคาร เลือดจึงถือเป็นคำตอบสำหรับการสูญเสียเลือดในแง่มุมต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้น
https://berlin55.com/
เข้าชม : 186
|